ที่มา
วิธีการ
การดำเนินการของ มก.

 

 

 
-การดำเนินงานของ มก.-

              มก. ดำเนินการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงเพื่อรับผิดชอบในการพัฒนาระบบงานและการบริหารการเปลี่ยนแปลง ( Chief Change Officer) พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติราชการเพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติราชการของ มก. ซึ่งประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร (เป็นประธาน) ส่วนคณะทำงานประกอบด้วย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนและวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล ผู้อำนวยการกองคลัง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม ผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ โดยมีเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 9 (เชี่ยวชาญ) เป็นเลขานุการ และมีผู้อำนวยการกองแผนงาน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
              ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 มก. ได้แจ้งความจำนงเข้าร่วมพัฒนาการปฏิบัติราชการในกลุ่มที่ 1 (ภาคบังคับ)โดยมีประเด็นการประเมินผลและดัชนีชี้วัดใน 4 มิติ ดังนี้
           
• มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ (ร้อยละ 25)
ผลสำเร็จในการพัฒนาการปฏิบัติราชการ
1) ความสำเร็จตามเป้าหมายผลผลิตของส่วนราชาร (ตามเอกสารงบประมาณรายจ่าย) (15 คะแนน)
          - งานจัดการศึกษา สำเร็จร้อยละ 80
          - งานวิจัย สำเร็จร้อยละ 90
          - งานบริการวิชาการ สำเร็จร้อยละ 95
          - งานทำนุฯ สำเร็จร้อยละ 90
2) การแก้ไขหรือยกเลิกกฎ ระเบียบ ร้อยละ 90 ของความสำเร็จ (10 คะแนน)
          - ข้อบังคับการศึกษาระดับปริญญาตรี
          - ระเบียบโครงการภาคพิเศษ
          - ระเบียบว่าด้วยการพัฒนาวิชาการ
          - ระเบียบพัสดุโดยใช้เงินรายได้
          - ระเบียบเงินรายได้
 
• มิติที่ 2 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ (ร้อยละ 25)
การลดค่าใช้จ่าย
3) งบประมาณที่สามารถประหยัดได้ ร้อยละ 3.5 (12.5 คะแนน)
การลดระยะเวลาการให้บริการ
4) ลดรอบระยะเวลาการให้บริการในกระบวนการเรียนการสอน ร้อยละ 30 ของระยะเวลาที่ดำเนินการในปัจจุบัน                        (12.5 คะแนน)
 
• มิติที่ 3 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ
คุณภาพการให้บริการ
5) การดำเนินงานตามแผนปรับปรุงแก้ไขบริการสำเร็จระดับขั้นที่ 4 (12.5 คะแนน)
6) จำนวนผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ร้อยละ 70 (12.5 คะแนน)
 
• มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร (ร้อยละ 25)
การลดอัตรากำลังหรือการจัดสรรอัตรากำลังให้คุ้มค่า
กรณีที่ 2 การจัดการผลิตภาพของบุคลากร
7) สัดส่วนจำนวนนิสิตทั้งหมดต่อบุคลากรด้านการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น (8 คะแนน)
8) สัดส่วนนิสิตทั้งหมดต่อค่าใช้จ่ายบุคลากรด้านการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น (8 คะแนน)
9) ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบ (9 คะแนน)
           - ความสำเร็จในการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะใหม่ (จำนวนโครงการฝึกอบรมและจำนวนผู้เข้าฝึกอบรม)
           - ความสำเร็จในการตั้งทีมงานเพื่อทำแผนพัฒนาระบบบริหารความรู้
ล่าสุด เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2547 มก. ได้จัดส่งรายละเอียดตัวชี้วัดเพิ่มเติมในมิติต่างๆ แก่ สำนักงาน ก.พ.ร.

 
 
  หน้าหลัก l ข้อมูลของ ก.พ.ร. มก. l คณะกรรมการ ปฏิทินการดำเนินงาน l เอกสารเผยแพร่ l แบบฟอร์ม l Links
 

Copyright 2004  Kasetsart University All rights reserved. Support 800 x 600 resolution.